หน้าเว็บ

27 กรกฎาคม 2554

ศักยภาพภาคเกษตรของไทยในความเป็นจริง

          ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ยังคงเป็นคำพูดที่หลายๆ คนคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ซึ่งคำพูดดังกล่าวสะท้อนให้เห็นความอุดมสมบูรณ์ของประเทศไทยมาจนถึงปัจจุบันนี้ พร้อมกับชื่อเสียงของประเทศที่มีความแข็งแกร่งในด้านเกษตรกรรม


          ภาคเกษตรไทยมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ประการแรก คือ เป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของประเทศ โดยรายได้ภาคเกษตรคิดเป็น 9% ของ GDP รวม (GDP : Gross Domestic Product คือ มูลค่าเบื้องต้นของผลผลิตที่เกิดขึ้นภายในอาณาเขตของประเทศในรอบหนึ่งปี ส่วน GNP : Gross National Product คือ มูลค่าเบื้องต้นของผลผลิตที่เกิดจากการใช้ปัจจัยการผลิตของชาติในรอบหนึ่งปี) 
     เป็นที่ทราบกันดีว่ารายได้หลักของประเทศไทยนั้น ส่วนใหญ่มาจากการส่งออก โดยพบว่าประเทศไทยมีรายได้ที่มาจากต่างประเทศถึงร้อยละ 78 ของรายได้ทั้งหมด ซึ่งในส่วนนี้เป็นรายได้ที่มาจาก 1.การส่งออก 2.การท่องเที่ยว 3.การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ

โครงสร้างรายได้ของประเทศไทยและรายละเอียดของแหล่งที่มา     


        หากพิจารณาอย่างละเอียดจะพบว่ารายได้ที่ได้มาจากต่างประเทศล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับสินค้าเกษตรกรรมเกือบจะทั้งสิ้น กล่าวคือ รายได้จากการส่งออกในปี 2551 จะเป็นสินค้าอาหารเกษตร 8 แสนล้านบาท นอกจากนี้รายได้จากการท่องเที่ยวซึ่งส่วนใหญ่เป็นรายได้ที่นักท่องเที่ยวใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าอาหาร โดยในปี 2549 มีรายได้จากร้านอาหารโดยตรงกว่า 3 แสนล้านบาท

โครงสร้างมูลค่าเบื้องต้นของผลผลิตที่เกิดขึ้นในประเทศไทยปี(GDP) ปี 2551


ภาพแสดงรายได้จากต่างประเทศของไทยในปี 2551

         ความสำคัญประการต่อมา คือ ภาคเกษตรเป็นแหล่งจ้างงานที่สำคัญ โดยในปี 2548 แรงงานในภาคเกษตรมีสัดส่วนถึงร้อยละ 37.70 ของแรงงานทั้งหมดซึ่งนับว่าเป็นจำนวนแรงงานที่มากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบแรงงานในภาคอื่น ๆ  เช่น ภาคอุตสาหกรรมร้อยละ15.50  ภาคการค้าส่งและค้าปลีกร้อยละ15.40  และภาคบริการอื่น ๆ ร้อยละ31.50 เป็นต้น  

          ประการที่สาม ภาคเกษตรสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากประเทศไทยมีอาหารหลายชนิดที่มีการส่งออกเป็นลำดับต้น ๆ ของโลก ได้แก่ หรืออาจได้กล่าวว่า สินค้าบางชนิด ประเทศไทยเป็นเจ้าตลาดก็ว่าได้ เช่น ข้าว ไก่แปรรูป กุ้ง ที่มีการส่งออกเป็นอันดับหนึ่งของโลก เป็นต้น

ตารางแสดงรายการสินค้าที่ไทยเป็นผู้นำในการส่งออก (ปี 2551)






ที่มา : สถาบันอาหาร

         จะเห็นได้ว่าภาคเกษตรไทยนั้นมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ แต่กลับปรากฏว่าศักยภาพในการผลิตสินค้าเกษตรไทยต่ำกว่าภาคอื่น ๆ กล่าวคือ ภาคเกษตรใช้จำนวนแรงงานมาก แต่กลับได้ค่า GDP น้อยที่สุด และเมื่อคำนวณอัตราส่วนแรงงานต่อ GDP ภาคเกษตรคิดเป็นเกือบ 11 เท่าของภาคอุตสาหกรรม หรือคิดเป็นประมาณ 4 เท่าของภาคการค้าส่ง, ค้าปลีก  ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า ประสิทธิภาพทางการผลิตในภาคเกษตรต่ำจึงทำให้ผลตอบแทนจากการใช้แรงงาน หรือ รายได้ที่ได้จากการใช้แรงงานนั้นต่ำ ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้ต่อคนต่ำตามไปด้วย โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 1,230 บาทต่อคนต่อเดือน (คำกล่าวของนายแพทย์จรัล ตฤณวุฒิพงษ์ อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, ปี 2549)  จึงเป็นมูลเหตุสำคัญให้แรงงานภาคเกษตรไหลออกไปสู่ภาคอุตสาหกรรมอื่นที่มีรายได้สูงกว่า 

          อย่างไรก็ตามภาคเกษตรของไทยนั้นยังมีศักยภาพมากพอที่จะนำพาประเทศไทยก้าวสู่การเป็นประเทศที่มั่งคั่งทางเศรษฐกิจได้หากได้รับการดูแลจากทุกภาคส่วน เช่น จะต้องมีการส่งเสริมให้มีการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าเกษตรเพื่อทำให้ขายสินค้าได้ในราคาที่สูงขึ้น อันจะเป็นผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นซึ่งจะเป็นแรงจูงใจให้มีการคิดค้นนวัตกรรมเข้ามาใช้ในภาคเกษตร รวมถึงภาคการวิจัยและพัฒนาก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะต้องสนับสนุนให้เข้ามาช่วยเหลือภาคเกษตรมากขึ้น ฯลฯ ทั้งหมดภาครัฐต้องเป็นแกนนำในการพัฒนาและควรให้ความสำคัญกับนโยบายพัฒนาภาคเกษตรของไทยโดยกำหนดให้เป็นยุทธศาสตร์ชาติและดำเนินการอย่างจริงจังและเร่งด่วนก่อนที่ภาคเกษตรของไทยจะอ่อนแอและล่มสลายไปในที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น